หลักสูตรที่เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้เปิดสอนหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาดังนี้

ประวัติความเป็นมา

40 graduates/year...1,000 workforce serving Thailand’s and international workplaces over 25 years of curriculum. offering

1. ปรัชญา หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและสมรรถนะการทำงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บนพื้นฐานความเข้าใจด้านนิเวศวิทยาที่ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งหลักปรัชญานี้เป็นตัวกำหนดโครงสร้างของหลักสูตร เพื่อพัฒนาและผลิตบัณฑิตคุณภาพที่มีสมรรถนะการทำงานอย่างมืออาชีพ มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นประชาชนโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และมีคุณธรรมและจริยธรรม

2. วัตถุประสงค์ หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและผลิตบัณฑิตคุณภาพที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
2.1) มีความรอบรู้และเข้าใจหลักและทฤษฎีด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่สอดคล้องกับสามเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม และพร้อมเป็นบัณฑิตที่มีสมรรถนะการทำงานอย่างมืออาชีพ
2.2) สามารถคิดวิเคราะห์เชิงลึก (Critical thinking) เพื่อเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา สถานการณ์ปัจจุบัน ไปจนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ที่จะนำไปสู่การป้องกัน แก้ไขปัญหา และฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
2.3) เป็นประชาชนโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่เชื่อมโยงองค์ความรู้วิชาการสู่การดำเนินชีวิตประจำวัน ตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ บนโลก ลงมือปฏิบัติที่ตนเอง และใช้ชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Think globally, Act locally, Live ecologically) รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เคารพสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่น มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
2.4) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และมีคุณธรรมและจริยธรรม
นอกจากนี้ในการจัดการหลักสูตรให้มีคุณภาพ สาขาวิชายังมุ่งเน้น

1) ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรและบุคลากรในสาขาวิชาได้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาศักยภาพตนเองให้ทันสมัย และสามารถนำความรู้และประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดให้กับนักศึกษา ทั้งในรูปแบบการทำโครงงานวิจัยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โครงการสหกิจศึกษา และนักศึกษาผู้ช่วยงานวิจัย โดยเฉพาะงานวิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูระบบนิเวศ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริการของระบบนิเวศ
2) ให้บริการวิชาการสู่สังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการฝึกทำงานกับอาจารย์ บุคลากร และชุมชนท้องถิ่น รวมไปถึงระดับภูมิภาค ระดับประเทศและระดับอาเซียน และ
3) สร้างสรรค์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภายในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่มีความผูกผันเป็นครอบครัวสิ่งแวดล้อม รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เกื้อกูล มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม

2.2.3 อัตราการได้งานทำของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา และเส้นทางอาชีพ
จากข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ถึง 2563 บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีจำนวนเฉลี่ย 43 คน/ปี และภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังสำเร็จการศึกษา บัณฑิตมีอัตราการได้งานและศึกษาต่อประมาณร้อยละ 76 ของจำนวนบัณฑิตในปีการศึกษานั้นๆ โดยส่วนใหญ่ได้งานที่ตรงสายด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามเมื่อติดตามข้อมูลในระยะยาวบัณฑิตทุกคนของหลักสูตรมีงานทำ โดยกลุ่มอาชีพที่บัณฑิตของหลักสูตรได้งาน สรุปได้ดังนี้

รูปที่ 1 ข้อมูลการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ระหว่างปีการศึกษา 2558-2563

(1) กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ได้แก่
• นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยหรือสถาบันวิจัยต่างๆ
• นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยและพัฒนา ประจำสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ
(2) กลุ่มนักวิชาการและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในระบบราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่
• นักวิชาการสิ่งแวดล้อมหรือนักวิชาการป่าไม้ ในสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ส.ผ.) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประจำจังหวัด (ท.ส.จ.) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (ก.พ.ร.) สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 1-7, กรมควบคุมมลพิษ, สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ภาค 1-16 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• ครูวิทยาศาสตร์ในระดับประถมและมัธยมศึกษา
• นักวิชาการเกษตรในกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
• นักวิชาการในหน่วยงานราชการอื่นๆ เช่น กรมปศุสัตว์หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
• ผู้ควบคุมมลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่รับรอง
(3) กลุ่มบริษัทเอกชนหรือที่ปรึกษา ได้แก่
• ผู้แทนฝ่ายขายของบริษัทจำหน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์
• ผู้แทนขายงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม
• เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม
• เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
• นักวิชาการสิ่งแวดล้อมในภาคเอกชน เช่น สถานประกอบการ บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมเอกชน
(4) กลุ่มอาชีพอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
• ที่ปรึกษาอิสระทางด้านสิ่งแวดล้อม
• นักเขียนอิสระทางด้านสิ่งแวดล้อม
• เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เจ้าของธุรกิจเกษตรปลอดสารพิษ

ความโดดเด่นหรือจุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรฯ มีความเข้มแข็งและโดดเด่น ดังนี้

1. มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยมีรายวิชาด้านสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมมลพิษทางน้ำ ขยะและกากของเสีย มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดิน และรายวิชาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น รายวิชาเศรษฐศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมบนฐานเศรษฐกิจบีซีจี การจัดการสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การฟื้นฟูเชิงนิเวศวิทยา และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความเข้มแข็งพื้นฐานของหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

2. หลักสูตรฯ ถูกพัฒนามาจากกรอบแนวคิดหรือปรัชญาที่ว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจด้านนิเวศวิทยาที่ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งหลักปรัชญานี้เป็นตัวกำหนดโครงสร้างหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนของรายวิชา นักศึกษาของหลักสูตรฯ จึงได้เรียนรู้หลักวิชาการและฝึกฝนทักษะด้านนิเวศวิทยาที่หลากหลาย เช่น นิเวศวิทยาภาคพื้น นิเวศวิทยาพืช นิเวศวิทยาสัตว์ป่า นิเวศวิทยาปักษี นิเวศวิทยาวิวัฒนาการ และนิเวศวิทยาป่าไม้ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพบนโลกของเรา บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรฯ จึงมีความรู้และทักษะ (Hard skill) ที่เป็นคุณค่าเพิ่มด้านนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และการประเมินระบบนิเวศ ทั้งโครงสร้างของระบบนิเวศและมูลค่าทางเศรษฐกิจของบริการจากระบบนิเวศ

3. จากทำเลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่สามารถเดินทางเข้าถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่หลากหลายได้อย่างสะดวก เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนในภาคสนามที่จะช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสภาพจริง ได้ขยายผลเชื่อมโยงความรู้จากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติและประยุกต์ใช้งานจริง และได้ฝึกทักษะและเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน (Soft skill) เช่น การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การวางแผนการทำงาน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การฝึกวินัย ความอดทน การตรงต่อเวลา และการปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในภาคสนาม ซึ่งหลักสูตรได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอดตั้งแต่เปิดสาขาวิชาครั้งแรก เมื่อปีการศึกษา 2536 จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นจุดเด่นหรือชื่อเสียงที่เป็นเหตุผลหรือแรงจูงใจสำคัญของนักศึกษาที่เลือกเข้ามาเรียนในหลักสูตรฯ

โครงสร้างหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

1. จำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร

หลักสูตรฝึกงานไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต
หลักสูตรสหกิจศึกษาไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต

2. โครงสร้างหลักสูตร

2.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
2.2 หมวดวิชาเฉพาะด้าน 101 หน่วยกิต
2.2.1 วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 45 หน่วยกิต
2.2.1.1 กลุ่มวิชาแกน 27 หน่วยกิต
2.2.1.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เฉพาะด้าน 18 หน่วยกิต
2.2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ 38 หน่วยกิต
2.2.2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานสิ่งแวดล้อม 7 หน่วยกิต
2.2.2.2 กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 15 หน่วยกิต
2.2.2.3 กลุ่มวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม 12 หน่วยกิต
2.2.2.4 กลุ่มการวิจัยและจริยธรรม 4 หน่วยกิต
2.2.3 วิชาเลือกเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า
- แผนฝึกงาน 15 หน่วยกิต
- แผนสหกิจศึกษา 12 หน่วยกิต
2.2.4 กลุ่มวิชาฝึกงานและสหกิจศึกษา
- แผนฝึกงาน 3 หน่วยกิต
- แผนสหกิจศึกษา 6 หน่วยกิต
2.3 หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

รูปที่2 แสดงแผนการเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

คลิกเพื่อดาวน์โหลดโบร์ชัวร์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

หลักสูตรเปิดสอน 2 แผน แต่ละแผนนักศึกษาต้องมีจำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ตามรายละเอียดต่อไปนี้

แผน ก. แบบ ก.1
ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ (ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต)

แผน ก. แบบ ก.2

-ทำวิทยานิพนธ์ (ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
-ศึกษารายวิชา (ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต)

คลิกดาวน์โหลดรายละเอียด

ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

แบบ 1.1 ทำเฉพาะดุษฎีนิพนธ์ (48 หน่วยกิต)

- หมวดวิชาดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
- หมวดวิชาบังคับ-สัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)
- นักศึกษาระดับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สามารถใช้ตัวเลือกนี้ได้

แบบ 1.2 ทำเฉพาะดุษฎีนิพนธ์ (72 หน่วยกิต)

- หมวดวิชาดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
- หมวดวิชาบังคับ-สัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)
- นักศึกษาระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สามารถใช้ตัวเลือกนี้ได้ หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดดังนี้ มี GPA 3.50 ขึ้นไป, มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมา 3-5 ปี, และมีงานวิจัยหรือวารสารตีพิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ

แบบ 2.1 ทำดุษฎีนิพนธ์และศึกษารายวิชา (48 หน่วยกิต)

- หมวดวิชาดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
- หมวดวิชาบังคับ-สัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)
- นักศึกษาระดับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สามารถใช้ตัวเลือกนี้ได้

แบบ 2.2 ทำดุษฎีนิพนธ์และศึกษารายวิชา (72 หน่วยกิต)

- หมวดวิชาดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
- หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
- นักศึกษาระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สามารถใช้ตัวเลือกนี้ได้ หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดดังนี้ มี GPA 3.50 ขึ้นไป, มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมา 3-5 ปี, และมีงานวิจัยหรือวารสารตีพิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ

คลิกดาวน์โหลดรายละเอียด